Concepts in Action

การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพบนบก มีผลต่อเนื่องมายังความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล บริษัทฯ จึงจัดทำโครงการต่างๆ ในพื้นที่การดำเนินธุรกิจและพื้นที่ข้างเคียง ครอบคลุมทั้งพื้นที่เกาะและชายฝั่ง ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลสูง บริษัทฯ จึงกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG 14 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูล ความรู้ มาใช้ในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นหนึ่งในคุณค่าที่จะส่งมอบต่อไปถึงลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียตลอดขั้นตอนในการเริ่มดำเนินธุรกิจ

นอกจากการกำกับดูแลภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทแล้ว ยังขยายความร่วมมือไปถึงผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทในกลุ่ม และพันธมิตรต่างๆ ในการดำเนินโครงการเพื่อรักษาและฟื้นฟูความสมบูรณ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล เพื่อการสร้างประโยชน์และคุณค่าร่วมกัน (Create Share Value) ตามโครงการต่อไปนี้


โครงการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล

  • ดูแลรักษาแนวปะการังให้คงอยู่และเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น คิดเป็นพื้นที่รวม 5,736 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1,197.49 จากปี 2559 (479 ตารางเมตร)
  • การอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตตามบัญชีแดงของ IUCN (IUCN Red List) อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened) ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered) มากถึง 27 ชนิด
  • การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ปลาฉลามกบ ที่อยู่ในความดูแลจำนวน 45 ตัว ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้ว 11 ตัว และเพาะพันธุ์เพิ่มได้ 4 ตัว
  • การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ปลาการ์ตูน เพาะพันธ์เพิ่มได้จำนวน 152 ตัว เพื่อรอปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
  • ส่งมอบทุ่นไข่ปลาและเชือกใยยักษ์ 600 เมตร แก่อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแนวป้องกันรักษาแนวปะการัง


โครงการสรางจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทางทะเล

  • สร้างเยาวชนที่สามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) จากค่าย SeaYouTomorrow Camp กว่า 50 คน
  • สร้างศูนย์เรียนรู้ทางทะเล 2 แห่ง ปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ตลอดช่วงระยะเวลาเปิดดำเนินการ (ปี 2562 – 2565) รวม 28,293 คน
  • จัดทำหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง หัวข้อ การใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างยั่งยืน ณ โครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ จำนวน ..... คน


โครงการสำรวจและติดตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่อนุรักษ์

บริษัทฯ มีการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ในโครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2559 โดยในปี 2565 บริษัทฯ ยังคงดำเนินการเพื่อป้องกันและรักษาพื้นที่ดังกล่าวไว้ และในปี 2566 บริษัท ฯ ได้ทำสัญญาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลบริเวณในโครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ การสำรวจเก็บข้อมูลและติดตามอย่างใกล้ชิด ด้วยอุปกรณ์ทันสมัย เช่น การสำรวจทางอากาศโดยใช้ Splash drone และการติดตั้ง Temperature Data Logger ติดตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเล เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่มีความสมดุล เกิดการฟื้นตัวของแนวปะการังและความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการสำรวจและติดตามสัตว์ทะเลหายาก
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของสิงห์ เอสเตท ณ โครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ได้ทำการบันทึกข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์ทะเลไว้แล้วกว่า 340 ชนิด ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยในจำนวนดังกล่าวประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตอนุรักษ์ตามบัญชีแดงของ IUCN (IUCN Red List) อย่างน้อย 207 ชนิด โดยมีชนิดพันธุ์ที่จัดอยู่ในสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern) กว่า 180 ชนิด และเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened) ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered) มากถึง 27 ชนิด อย่างไรก็ตาม ชนิดพันธุ์สัตว์ทะเลต่างๆ ยังคงถูกพบได้อย่างต่อเนื่องในพื้นที่โครงการฯ โดยมีการแบ่งปันข้อมูลภายใต้ความร่วมมือกับ Ministry of Environment, Climate Change and Technology สาธารณรัฐมัลดีฟส์

ศูนย์เรียนรู้ทางทะเล (Marine Discovery Centre)
ตั้งแต่ปี 2561 สิงห์ เอสเตท ได้ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล” หรือ Marine Discovery Centre (MDC) แห่งแรกขึ้น ณ โรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ และได้จัดให้มี MDC แห่งที่สอง ณ โครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยมีแนวคิดเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ทางด้านนิเวศทะเล ถ่ายทอดผ่านสื่อที่น่าสนใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่สนใจ โดยในแต่ละศูนย์ฯ จะมีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการเฉพาะขึ้น อาทิ พื้นที่เพาะปลูกปะการัง ณ โครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ พื้นที่อนุบาลสัตว์ทะเลหากยากกลุ่มฉลาม พื้นที่พักสัตว์ทะเลที่ได้รับบาดเจ็บ และพื้นที่เพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน ณ เกาะพีพี

โครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากกลุ่มปลาฉลาม
สิงห์ เอสเตท ร่วมงานกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (PMBC) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในดำเนินโครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากกลุ่มปลาฉลาม หรือ โครงการ SOS: Save Our Sharks ณ พื้นที่โรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ จังหวัดกระบี่ เพื่ออนุบาล เพาะขยายพันธุ์ และปล่อยฉลามกบคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะเริ่มดำเนินโครงการทำป้ายสื่อความรู้เพื่อการอนุรักษ์ฉลามครีบดำ บริเวณอ่าวมาหยา อีกด้วย

โครงการ SeaYouTomorrow Camp Fighting Climate Crisis “ค่ายผู้นำและเยาวชน รวมพลังต้านวิกฤติโลกร้อน”
ในปี 2564 - 2565 สิงห์ เอสเตท จัดโครงการ SeaYouTomorrow Camp : Fighting Climate Crisis “ค่ายผู้นำและเยาวชน รวมพลังต้านวิกฤติโลกร้อน” ร่วมกับ ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาประเทศไทย (Environmental Education Centre : EEC) ทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นค่ายภาคทะเล จัดที่ โรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ และค่ายภาคป่าไม้ จัดขึ้นที่สิงห์ ปาร์ค เชียงราย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ จุดประกายความคิด ให้แก่เยาวชนในพื้นที่ และผู้บริหารในองค์กร สู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของธรรมชาติ การกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศป่า (Green Carbon) การกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเล (Blue Carbon) และผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

โครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชน บ้านโล๊ะบาเกา เกาะพีพี
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่และชุมชนโดยรอบให้มีความเข้มแข็งและเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าบกถึง 5 เท่า (Blue Carbon) โดยได้ร่วมกับชุมชนบ้านโล๊ะบาเกาในการจัดทำ “โครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านโล๊ะบาเกา เกาะพีพี” ขึ้น ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านโล๊ะบาเกา เกาะพีพี หมู่ที่ 8 ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยเริ่มการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชายเลน สำรวจพื้นที่แหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon Sink) และสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นต่างจากป่าชายเลนทั่วไป เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ( Sustainable Tourism)



Former actions

    1 / 0